วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

โครงการอบรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ  การพัฒนาฐานการเรียนรู้ออนไลน์  ด้วย blogger  การสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย  ผ่าน social  network   รุ่นที่ 3 




etv วิชาภาษาอังกฤษณเพื่อชีวิตและสังคม


Best Pracetice

        โครงการเพาะเห็ดภูฐานดำ







   




ภูมิปัญญาท้องถิ่น

          1.  นายศรีรัตน์  ต๊ะกับ                 หมู่ที่ 1 ตำบลปิงหลวง         หมอสู่ขวัญ
          2.  นายพุฒ  กันไชย                   หมู่ที่ 1 ตำบลปิงหลวง         หมอเป่า
          3.  นายสุพันธ์  ชาวนา                หมู่ที่ 1 ตำบลปิงหลวง         ที่นั่งผี
          4.  นายประดิษฐ์  ทิศหน่อ          หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง         หมอสู่ขวัญ
          5.  นายมาลัย  กันไชย                หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง         หมอสมุนไพร
          6.  นายไป่  งึ้มนันใจ                   หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง        หมอยาโบราณ,ยาสมุนไพร
          7.  นายมูล  ทิศหน่อ                   หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง        หมอเป่า
          8.  นายสม  แปงเหมือน              หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง        หมอเป่า
          9.  นายประเวศน์  ปิมปาตัน        หมู่ที่ 3 ตำบลปิงหลวง         หมอสู่ขวัญ
          10.  นายหมื่น  ธิมาปิง                หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง        หมอสมุนไพร
          11.  นายสม  ตาป้อง                  หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง         หมอสู่ขวัญ
          12.  นายสวย  ตาป้อง                หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง         หมอสู่ขวัญ
          13.  นายเย็น  ทะน้อย                หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง         หมอสู่ขวัญ
          14.  นายเสงี่ยม  นันตา              หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง         หมอเป่า
          15.  นางศรีวงค์อินต๊ะเหล็ก        หมู่ที่ 5 ตำบลปิงหลวง         หมอเป่า
          16.  นายแสวง  สุทธิ                  หมู่ที่ 5 ตำบลปิงหลวง         หมอเป่า
          17.  นายตัน  อมรทิพย์วงศ์         หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง        หมอสู่ขวัญ
          18.  นายสอน  มาแดง                หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง        จักสาน
          19.  นายเจริญ  ชุ่มนวล              หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง        ผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้าน
          20.  นายมูล  ศรีแก้ว                  หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง         ผลิตเครื่องกับดักสัตว์
          20.  นายทา  อมรทิพย์วงศ์        หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง         สานแห ,จักสาน
          21.  นายประเสริฐ  ไชยศรีธ       หมู่ที่ 6  ตำบลปิงหลวง       ช่างซอ
          22.  นายทอง  ถาวร                   หมู่ที่ 7  ตำบลปิงหลวง       หมอสู่ขวัญ
          23.   นายณัฐวุฒิ  ขันติม            หมู่ที่ 7  ตำบลปิงหลวง        หมอสู่ขวัญ
          24.  นายบัน  ใหม่ยา                  หมู่ที่ 7  ตำบลปิงหลวง       หมอพื้นบ้าน
          25.  นายจันทร์  ทิศก๋า               หมู่ที่ 9  ตำบลปิงหลวง       จักสานไม้กวาด
          26.  นายเป็ง  จีระ                      หมู่ที่ 10 ตำบลปิงหลวง       หมอเป่าพิษต่างๆ
          27.  นายคำ   จีระ                      หมู่ที่ 10  ตำบลปิงหลวง      จักสาน

ที่ตั้ง

        
1.ชื่อ : กศน.ตําบลปิงหลวง

2. สังกัด :ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอนาหมื่น สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ

3. ประวัติความเป็นมา
              กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน.อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชนกศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้
          1.จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างน้อยปีงบประมาณละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรมดังนี้
                      1.1  การศึกษานอกระบบ260คน ประกอบด้วย
                             1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน  60  คน
                             1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  จำนวน  20  คน
                             1.1.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  จำนวน 20 คน
                             1.1.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน
                             1.1.5 กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน
                      1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน
           2.สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
         3.ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข็มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการจัด
 4.จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.
 5.จัดทำแผนงาน โครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัด และ กศน.อำเภอ ที่สังกัดเพื่อการสนับสนุนงบประมาณจาก กศน.อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัว ตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดคูณด้วย จำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆนั้น จัดทำแผนงาน โครงการเพื่อเสนอของบประมาณให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ
6.ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและ กับ กศน.อำเภอที่สังกัดตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพ ด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฎิบัติ
7.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอก
ของ กศน.อำเภอ ที่สังกัด
          8.รายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้
          9.ปฏิบัติภารกิจอื่นๆที่ดีรับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด

4.ข้อมูลชุมชน
เนื้อที่
ตำบลปิงหลวงมีเนื้อที่โดยประมาณ 344,000 ตารางกิโลเมตรหรือ 12,796 ไร่
          ภูมิประเทศ
                    มีสภาพที่ตั้งเป็นภูเขาสูงชันและป่าไม้กระจัดกระจายทั่วไปมีที่ราบน้อย

จำนวนหมู่บ้าน      ตำบลปิงหลวงมีทั้งสิ้น 10 หมู่บ้านอันได้แก่
          - หมู่ที่ 1                   บ้านดอนมูล
          - หมู่ที่ 2                   บ้านปิงหลวง
          - หมู่ที่ 3                   บ้านปิงใน
          - หมู่ที่ 4                   บ้านห้วยเย็น
          - หมู่ที่ 5                   บ้านต้อง
          - หมู่ที่ 6                   บ้านน้ำแพะ
          - หมู่ที่ 7                   บ้านน้ำเคิม
          - หมู่ที่ 8                   บ้านน้ำลีใต้
          - หมู่ที่ 9                   บ้านน้ำทา
          - หมู่ที่ 10                  บ้านค่างาม

ประชากร
          ตำบลปิงหลวงมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,179 คนแยกเป็นชาย 1,636 คนหญิง 1,543 คน
หมู่ที่
บ้าน
ประชากร
รวม
ชาย
หญิง
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
ดอนมูล
ปิงหลวง
ปิงใน
ห้วยเย็น
ต้อง
น้ำแพะ
น้ำเคิม
น้ำลีใต้
น้ำทา
มะค่างาม
96
204
267
155
271
195
120
130
72
126
65
211
242
149
246
182
121
138
76
113
161
415
509
304
517
377
241
268
148
239

รวม
1,636
1,543
3,179

5. สถานภาพทางเศรษฐกิจ
          5.1 อาชีพในตำบลปิงหลวงมีดังนี้
                   - เกษตรกรรม
- เลี้ยงสัตว์
                    - ค้าขาย
                    - รับจ้าง
                   - รับราชการ

          5.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวง
                   - สหกรณ์การเกษตรปิงหลวง       1        แห่ง
                   - ร้านขายวัสดุก่อสร้าง                  3        แห่ง
                   - ร้านขายอาหารขนาดเล็ก           8        แห่ง
                   - ร้านขายของชำ                          25      แห่ง
                   - เขียงหมู                                     3        แห่ง
                   - โรงสี                                          9        แห่ง




6. สภาพทางสังคม
          6.1 การศึกษา
                   - โรงเรียนประถมศึกษา                5        แห่ง
                   - โรงเรียนมัธยมศึกษา                 1        แห่ง
                   - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                   5        แห่ง
                   - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน      10      แห่ง
                   - หอกระจายข่าว                          10      แห่ง
          6.2 สถาบันและองค์การทางศาสนา
- วัด 5 แห่งอันได้แก่วัดปิงในวัดปิงหลวงวัดน้ำเคิมวัดต้องวัดน้ำแพะ
                   - สำนักสงฆ์ 2แห่งคือสำนักสงฆ์บ้านน้ำลีใต้สำนักปฏิบัติธรรมบ้านห้วยเย็น

6.3 สาธารณสุข
                   - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิงหลวง          1        แห่ง
                   - ร้านขายยาแผนโบราณประจำหมู่บ้าน                   2        แห่ง
                   - ศูนย์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน            10      แห่ง
                   - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ               ร้อยละ      100
          6.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                   บ้านพักสายตรวจประจำตำบล          1        แห่ง

7. การบริการขั้นพื้นฐาน
7.1 การคมนาคม
                   - ทางหลวงชนบทสายนาทะนุง - นาคา
                   - ทางหลวงชนบทสายบ้านต้นต้อง - น้ำลีใต้
                   - ทางหลวงชนบทสายบ้านต้นต้อง - น้ำเคิม
          7.2 การโทรคมนาคม
                   - ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต         1        แห่ง
                   - ตู้โทรศัพท์สาธารณะ                 7        แห่ง
          7.3 ไฟฟ้า
                   - หมู่บ้านในองค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวงมีไฟฟ้าใช้ครบทั้ง  10    หมู่บ้าน
          7.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
                   - แม่น้ำ           5        สาย
                   - ลำห้วย         26      สาย


          7.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
                   - ฝาย                              28      แห่ง
                   - อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก     1        แห่ง
                   - ประปามาตรฐาน           1        แห่ง
                   - ประปาภูเขา                  8        แห่ง
                   - บ่อน้ำตื้น                      23      แห่ง
                   - บาดาลมือโยก              3        แห่ง

8. แหล่งเรียนรู้/แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
          8.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
                   - ทรัพยากรดินมีลักษณะเป็นดินปนทรายและมีสีแดง
- ทรัพยากรป่าไม้ป่าไม้ยังคงความอุดมสมบูรณ์
                   - ทรัพยากรน้ำมีแม่น้ำ 5 สาย
8.2 แหล่งท่องเที่ยว
                   น้ำตกหลิมโตนอยู่ในเขตหมู่บ้านน้ำทาไปถึงที่จอดรถประมาณ 1 กิโลเมตรและเดินเข้าไปอีกเป็นระยะประมาณ 1 กิโลเมตรสภาพพื้นที่เป็นป่าไม้ธรรมชาติที่ยังคงอุดมสมบูรณ์น้ำตกหลิมโตนมี 2 ชั้นซึ่งน้ำตกชั้นที่ 1 มีความสูง 18 เมตรน้ำตกชั้นที่ 2 มีความสูง 15 เมตร
                   น้ำตกซาววาอยู่ในเขตหมู่บ้านประมงปากลี-ห้วยเลิศมีความสูงประมาณ 80 เมตรระยะทางจากแพปากลีไปน้ำตกซาววาประมาณ 5 กิโลเมตรมีพื้นที่ติดต่อระหว่างน้ำเคิมตำบลปิงหลวงกับอำเภอท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์

                   หมู่บ้านประมงปากลีระยะทางจากอบต.ปิงหลวงถึงที่ท่าเรือประมาณ 7.5 กิโลเมตรโดยรถยนต์/รถจักรยานยนต์ถึงที่ท่าเรือจอดรถหลังจากนั้นนั่งเรือต่อถึงแพปากลีใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-10 นาทีมีแพในเขตตำบลปิงหลวงประมาณ 30-40 ลำและอยู่ในเขตอำเภอท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณ 100 กว่าลำสภาพพื้นที่และสภาพน้ำยังคงความอุดมสมบูรณ์  
         
9. ภูมิปัญญาชาวบ้าน
          1.  นายศรีรัตน์  ต๊ะกับ         หมู่ที่ 1 ตำบลปิงหลวง         หมอสู่ขวัญ
          2.  นายพุฒ  กันไชย           หมู่ที่ 1 ตำบลปิงหลวง         หมอเป่า
          3.  นายสุพันธ์  ชาวนา         หมู่ที่ 1 ตำบลปิงหลวง         ที่นั่งผี
          4.  นายประดิษฐ์  ทิศหน่อ    หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง          หมอสู่ขวัญ
          5.  นายมาลัย  กันไชย         หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง         หมอสมุนไพร
          6.  นายไป่  งึ้มนันใจ            หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง        หมอยาโบราณ,ยาสมุนไพร
          7.  นายมูล  ทิศหน่อ            หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง        หมอเป่า
          8.  นายสม  แปงเหมือน        หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง        หมอเป่า
          9.  นายประเวศน์  ปิมปาตัน   หมู่ที่ 3 ตำบลปิงหลวง         หมอสู่ขวัญ
          10.  นายหมื่น  ธิมาปิง          หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง        หมอสมุนไพร
          11.  นายสม  ตาป้อง     หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง     หมอสู่ขวัญ
          12.  นายสวย  ตาป้อง          หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง        หมอสู่ขวัญ
          13.  นายเย็น  ทะน้อย          หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง        หมอสู่ขวัญ
          14.  นายเสงี่ยม  นันตา        หมู่ที่ 4 ตำบลปิงหลวง        หมอเป่า
          15.  นางศรีวงค์อินต๊ะเหล็ก     หมู่ที่ 5 ตำบลปิงหลวง        หมอเป่า
          16.  นายแสวง  สุทธิ             หมู่ที่ 5 ตำบลปิงหลวง       หมอเป่า
          17.  นายตัน  อมรทิพย์วงศ์     หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง        หมอสู่ขวัญ
          18.  นายสอน  มาแดง           หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง       จักสาน
          19.  นายเจริญ  ชุ่มนวล         หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง       ผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้าน
          20.  นายมูล  ศรีแก้ว            หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง       ผลิตเครื่องกับดักสัตว์
          20.  นายทา  อมรทิพย์วงศ์     หมู่ที่ 6 ตำบลปิงหลวง        สานแห ,จักสาน
          21.  นายประเสริฐ  ไชยศรีธ    หมู่ที่ 6  ตำบลปิงหลวง       ช่างซอ
          22.  นายทอง  ถาวร      หมู่ที่ 7  ตำบลปิงหลวง    หมอสู่ขวัญ
          23.   นายณัฐวุฒิ  ขันติม หมู่ที่ 7  ตำบลปิงหลวง    หมอสู่ขวัญ
          24.  นายบัน  ใหม่ยา            หมู่ที่ 7  ตำบลปิงหลวง      หมอพื้นบ้าน
          25.  นายจันทร์  ทิศก๋า          หมู่ที่ 9  ตำบลปิงหลวง      จักสานไม้กวาด
          26.  นายเป็ง  จีระ               หมู่ที่ 10 ตำบลปิงหลวง      หมอเป่าพิษต่างๆ
          27.  นายคำ   จีระ               หมู่ที่ 10  ตำบลปิงหลวง     จักสาน

10. ประเพณีที่สำคัญของหมู่บ้าน
          -ตานก๋วยสลาก
          -ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
          -ประเพณียี่เป็ง
          -ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว
          -ประเพณีสงกรานต์
          -ประเพณีดาปอย

11. สภาพปัญหาที่สำคัญของหมู่บ้าน
สภาพปัญหาด้านเศรษฐกิจ
          1. ประชาชนมีรายได้ต่ำ
          2. ประชาชนมีหนี้สินมากและปลดเปลื้องหนี้สินไม่ได้
          3. ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน
          4. ประชาชนยังมีทัศนคติในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม
          5. ผู้มีสารเคมีใช้ไม่ถูกต้อง (ปริมาณระยะเวลาประสิทธิภาพของสารเคมี) และไม่คำนึงผลตกค้างในผลผลิตหรือในตัวผู้ใช้เองตลอดจนสภาพแวดล้อม
          6. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการวางแผนการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาด
          7. มีข้อจำกัดในการขยายตลาด
          8. อำนาจในการซื้อต่ำ
          9. ชาวบ้านขาดความรู้ในการเพิ่มผลผลิตในการเกษตรมีแหล่งน้ำไม่เพียงพอ
          10. ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ต่อครอบครัวต่ำและประชากรในวัยทำงานยังว่างงานรวมถึงการว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร
          11. ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพในการทำเกษตรเพียงอย่างเดียวไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตและผลผลิตทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ
          12. มีการอพยพแรงงานภาคเกษตรเข้าสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมทำให้ขาดแคลนแรงงานทางเกษตรกรรม
          13. ประชาชนขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านการจัดการการบริหารงานสหกรณ์ออมทรัพย์
          14. พื้นที่ปลูกผลผลิตอยู่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวกทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหายในระหว่างขนส่งและมีความล่าช้าในการขนส่งมาก
          15. พื้นที่ในการทำเกษตรแผนใหม่มีไม่เพียงพอประชาชนขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพรวมถึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการแนะนำในการทำเกษตรแผนใหม่

สภาพปัญหาด้านสังคม
          1. มีผู้ว่างงานมากเพราะถูกเลิกจ้างจากภาคอุตสาหกรรม
          2. ผู้ว่างงานส่วนใหญ่วุฒิการศึกษาต่ำและส่วนหนึ่งไม่ประสงค์ไปทำงานนอกพื้นที่
          3. เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนพัฒนาฝีมือแรงงานน้อย
          4. เงินสงเคราะห์(เบี้ยยังชีพ)คนชราผู้ติดเชื้อเอดส์คนพิการไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง
          5. การสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่เด็กสตรีคนพิการและครอบครัวยากจนไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง
          6. การพัฒนากลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสไม่ทั่วถึง

สภาพปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
          1. การคมนาคมไม่สะดวกขาดการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
เส้นทางคมนาคมระหว่างหมู่บ้านตำบลยังไม่ได้มาตรฐานมีสภาพคดเคี้ยวผิวจราจรแคบ
และมีความลาดชัน
          3. ขาดแหล่งกักเก็บน้ำแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอุปโภคและบริโภค
          4. ปัจจัยขั้นพื้นฐานหลายประการเช่นการสื่อสารไฟฟ้าน้ำประปาระบบการขนถ่ายและคลังสินค้ายังไม่สามารถสนองความต้องการของประชาชนได้ทุกพื้นที่
          5. ถนนที่ใช้สัญจรในหมู่บ้านยังเป็นลูกรังซึ่งเป็นถนนหลักที่ใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคในการขนส่ง
          6. ประชาชนในพื้นที่ยังขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับไว้บริโภครวมถึงขาดถังเก็บน้ำฝนสำหรับการบริโภค
          7. ประชาชนมีรายได้ต่อครอบครัวต่ำทำให้เงินทุนในการผันน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคไม่เพียงพอ
          8. ประชาชนอยู่ห่างไกลจากสถานพยาบาลและเส้นทางคมนาคมไม่สะดวกในการเดินทางมารักษาพยาบาลรวมถึงการขาดบุคลากรในการรักษาพยาบาลเฉพาะทาง
          9. สะพานที่มีอยู่เป็นสะพานไม้และมีสภาพที่ชำรุดเสียหาย
          10. ตามทางแยกและที่สาธารณะยังไม่มีไฟฟ้าสาธารณะทำให้เกดอุบัติเหตุในตอนกลางคืนบ่อย
          11. ประปาที่มีอยู่มีสภาพที่ชำรุดและยังขาดการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ดี
          12. ระบบขนส่งเช่นดาดลำเหมือง-รางรินยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
          13. ในตำบลปิงหลวงยังขาดผนังกั้นตลิ่งพังจำนวน 7 หมู่บ้าน
          14. ถนนในตำบลปิงหลวงส่วนใหญ่มีสภาพลาดชันทำให้น้ำป่าเซาะถนนได้ง่าย
          15. จัดทำป้ายหมู่บ้านและจัดสร้างศูนย์ข้อมูลข่าวสารของอบต.
          16. จัดสร้างสำนักงานอบต. ใหม่หรือปรับปรุงสำนักงานให้เพียงพอต่อบุคลากรที่เพิ่มขึ้น

สภาพปัญหาด้านแหล่งน้ำ
1. แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขินปริมาณน้ำในแม่น้ำลำคลองลดลงแหล่งน้ำมีสารปนเปื้อนมีตะกอนและ
ขาดแหล่งกักเก็บน้ำ
          2. เนื่องจากอบต.ปิงหลวงมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 98 ของพื้นที่เป็นพื้นที่สูงประชากรที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูงทำการเกษตรกรรมเป็นหลักมีการบุกรุกทำลายป่าบริเวณพื้นที่แหล่งต้นน้ำทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินน้ำป่าไม้และระบบนิเวศน์
          3. ลำน้ำตื้นเขินไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ในฤดูแล้ง
          4. แหล่งน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอเพื่อการเกษตรไม่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีสมรรถภาพในการเก็บและการผันน้ำมาใช้
          5. คุณภาพน้ำในลำน้ำเสื่อมโทรมเกิดปัญหาน้ำเสียเนื่องจากมีการใช้สารเคมีและการทิ้งสิ่งปฏิกูลและสารเคมีลงสู่แม่น้ำ
          6. ขาดแหล่งกักเก็บน้ำแหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขินไม่ได้รับการขุดลอก
          7. ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ทำให้มีการตัดต้นไม้ทำลายป่าต้นน้ำจำนวนมากและไม่มีการปลูกป่าทดแทนต้นไม้ที่ถูกทำลาย

ปัญหาด้านสาธารณสุข
          1. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการแยกขยะก่อนทิ้งและสถานที่กำจัดขยะมีไม่เพียงพอต่อการรองรับของปริมาณขยะรวมทั้งการจัดการในการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี
          2. ประชาชนรายได้ต่อครอบครัวต่ำทำให้การจัดหาอาหารที่ครบตามหลักโภชนาการมีไม่เพียงพอต่อการบริโภคของเด็กในวัยเจริญเติบโตทำให้เด็กจำนวนมากขาดสารอาหาร
          3. เยาวชนยังขาดความรู้เรื่องโทษของสารเสพติดรวมทั้งการป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติดรวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดยังมีน้อยและประชาชนในชุมนยังไม่ตระหนักถึงผลร้ายแรงที่จะตามมาของยาเสพติดมากเท่าที่ควร
          4. ประชาชนขาดความระมัดระวังในการใช้สารเคมีรวมถึงขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีในพืชทางการเกษตรรวมถึงการขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านการกำจัดศัตรูพืชตามวิธีการตามธรรมชาติ
          5. ประชาชนมีพื้นที่อยู่อาศัยห่างไกลจากสถานพยาบาลมากและสถานพยาบาลมีไม่เพียงพอต่อความต้องการในการรักษาพยาบาล
          6. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการและการตระหนักถึงการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการรวมถึงประชาชนมีรายได้ต่ำทำให้ไม่สามารถกำหนดอาหารตามโภชนาการ
          7. ประชาชนขาดสถานที่ออกกำลังกายและขาดแคลนงบประมาณในการจัดสร้างสนามกีฬาที่ได้มาตรฐานสำหรับออกกำลังกาย
          8. อุปกรณ์สำหรับเล่นกีฬามีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่ต้องการออกกำลังกาย

สภาพปัญหาด้านการเมืองการบริหาร
1. ประชาชนยังมีบทบาทในการเข้าร่วมพัฒนาตำบลน้อย     
2. บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลยังขาดความรู้ในการแนะนำอาชีพเสริมให้แก่ประชาชน
          3. สมาชิกองค์การบริการส่วนตำบลส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหาร
          4. สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลยังขาดเครื่องมือสื่อสารและเครื่องใช้สำนักงานอยู่มาก
          5. ปรับปรุงและจัดหาวัสดุครุภัณฑ์สำนักงานให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

สภาพปัญหาด้านการศึกษาและวัฒนธรรม
          1. สถานศึกษาอยู่ห่างไกลทำให้บุคลากรที่จะมาสอนเดินทางไม่สะดวกและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น
2. พื้นที่ในการปลูกสร้างอาคารมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น
          3.สถานศึกษาขาดแคลนวัสดุ-อุปกรณ์และสื่อที่ทันสมัยที่จะใช้สำหรับการเรียนการสอนนักเรียน
ขาดสถานที่ที่จะรองรับเด็กก่อนวัยเรียนที่จะพัฒนาความรู้ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อระดับประถมและขาดสารอาหาร
5. นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ยากจนทำให้ไม่มีเงินสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นกว่า
ภาคบังคับและทางโรงเรียนไม่มีทุนการศึกษาที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน
          6. ประชาชนขาดแคลนแหล่งความรู้ที่จะศึกษาหาความรู้
          7. ประชาชนยังไม่ตระหนักความสำคัญของการอนุรักษ์ค่านิยมไทยและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
          8. ในตำบลปิงหลวงยังขาดการสนับสนุนและการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น
          9. ประชาชนขาดการรักษางานวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านที่ขาดหายไป

สภาพปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. ประชาชนบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนเพื่อทำการเกษตรกรรม
2. แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขินไม่มีน้ำใช้ในฤดูแล้งและไม่มีการขุดลอกแหล่งน้ำ
3. ขาดการปลูกป่าทดแทน
4. มีการทิ้งขยะมูลฝอยไม่เป็นที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของขยะ
5. ประชาชนขาดความรู้ในการผันน้ำมาใช้และขาดบุคลากรในการแนะนำความรู้ในเรื่องการผันน้ำมาใช้
6. ประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการปลูกป่าและรักษาป่าต้นน้ำ

ปัญหาด้านแหล่งท่องเที่ยว
          1.ถนนเข้าสู่สถานที่ท่องเที่ยวมีความลำบากมากยังไม่มีการพัฒนามากเท่าที่ควรและเส้นทางไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวค่อนข้างไกล
          2. ประชาชนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
          3. ขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและงบประมาณที่จะมาส่งเสริมการท่องเที่ยวมีน้อยการประชาสัมพันธ์ทำได้ไม่ต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ
          4. แหล่งท่องเที่ยวยังขาดการปรับปรุงด้านต่างๆเช่นด้านภูมทัศน์

12. ความต้องการด้านอาชีพของชุมชนและแนวทางแก้ไข
          1. ความต้องการให้มีงานทำในพื้นที่
                    -แนวทางแก้ไข
                         1.  จัดอบรมอาชีพที่ชุมชนสามารถประกอบอาชีพในท้องถิ่นตนเองได้
                         2.  หน่วยงานควรให้การสนับสนุนการประกอบอาชีพในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
                         3.  รัฐบาลควรหาตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตในชุมชน

2.  ความต้องการความรู้ที่ทันสมัยและการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
                    -แนวทางแก้ไข 
                             1.  ให้ความรู้ด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย
                             2.  จัดอบรมให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาค้นคว้าที่ทันสมัย
                             3.  สนับสนุนด้านทุนทรัพย์เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้
                             4.  จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการตลาด
                             5. ความต้องการฝึกอาชีพเพิ่มรายได้
                    -แนวทางแก้ไข
                             1.  จัดฝึกอบรมทักษะอาชีพ
                             2.  ส่งเสริมอาชีพการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นมาประกอบอาชีพให้มากที่สุด
                             3.  สนับสนุนส่งเสริมงบประมาณฝึกอาชีพ
                             4.  จัดหาตลาดมารับรองสินค้าที่ผลิตจากการประกอบอาชีพชุมชน



 http://map.longdo.com/p/A10007943